สวัสดีค่ะ วันนี้ทางเรามีบทความที่ค่อนข้างน่าเป็นประเด็นสนใจ อยากจะนำเสนอ ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวของเราทุกคน
นั่นก็คือ.... เกี่ยวกับเรื่องความเชื่อค่ะ!!
ไม่ว่าจะเป็น ความเชื่อทางด้านวิทยาศาสตร์ หรือจากปัจจัยอื่นๆ เช่น การดูดวง ก็เป็นอีกศาสตร์หนึ่งเช่นเดียวกัน ซึ่งจะทำให้บุคคลนั้นๆ แสดงปฏิกิริยาที่ออกมาจากหลากหลายรูป ไม่ว่าจะการกระทำ หรือทางความคิด ซึ่งอาจจะออกมาในหลากรูปแบบ ที่อาจจะเป็นเรื่องที่ดี หรือแย่ ให้กับตัวเรานั้น โดยความเชื่อเหล่านี้ได้ส่งผลต่อพฤติกรรมไปในทิศทางที่แตกต่างกันออกไป 2 ลักษณะ คือ
1. ความเชื่อในอำนาจควบคุมภายใน (internal locus of control) คือ เชื่อว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากการกระทำของเขาเอง ซึ่งนั้นเขาสามารถคุมควบเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ เช่น ในการสอบ ผลคะแนนที่ออกมาดีนั้น เป็นเพราะ... เราเชื่อว่า ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น มาจากความพยายาม ความตั้งใจ และความขยันของตัวเราเอง หรือ ที่เรามีเงินเก็บเยอะ เพราะ เรามีการวางแผนทางการเงินที่ดี
2. ความเชื่อในอำนาจควบคุมภายนอก (external locus of control) คือ เมื่อเราเชื่อว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตนั้นไม่ได้เกิดจากการกระทำของเรา เช่น เกิดจากโชคชะตา และไม่สามารถควบคุมเหตุการณ์นั้นๆ ได้ เช่น วันนี้... เราทำคะแนนในการสอบได้ไม่ดี เพราะ ปีนี้ปีเกิดเราเป็นปีชง หรือ วันนี้มีเหตุการณ์ไม่ดีทั้งวัน เพราะ เราใส่เสื้อสีประจำวันผิด หรือ คนที่เราชอบ ทำไมเขาไม่ชอบเรา อาจจะเพราะ เนื้อคู่เรายังไม่มาแน่ๆๆ ดวงอาจไม่สมพงษ์กัน
จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อดังกล่าว เราวิเคราะห์จากงานวิจัยได้ว่า ผู้ที่มีความเชื่อในอำนาจควบคุมภายใน (internal locus of control) นั้น มีแนวโน้มที่จะมีระดับความเครียดในการทำงานต่ำ อีกทั้งจะมีความพึงพอใจในการทำงานที่ดีขึ้น และมีผลให้การปฏิบัติงานดีขึ้นตามไปด้วย แสดงให้เห็นว่าระดับความเชื่อในอำนาจความคุม (locus of control) นั้นสามารถทำนายพฤติกรรมในการทำงานได้ กล่าวคือ ยิ่งความเชื่อในอำนาจควบคุมภายในมากเท่าไร พฤติกรรมการทำงานโดยรวมก็จะดีขึ้นตามไปด้วย
รายละเอียดของการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยข้างต้น ทางเราได้ศึกษาและวิเคราะห์จากงานวิจัยของนักจิตวิทยาชาวไต้หวันซึ่งได้ศึกษาเกี่ยวกับความเชื่อเหล่านี้ในมุมมองของกลุ่มคนทำงาน เป็นบทความเรื่อง The impact of locus of control on job stress, job performance and job satisfaction in Taiwan อิทธิพลของความเชื่อในอำนาจควบคุม (locus of control) ต่อระดับความเครียดในงาน, ผลการปฏิบัติงาน และความพึงพอใจในการทำวานในประเทศไต้หวัน ของ Jui-Chen Chen และคณะ
ไอเดียบอยหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคน และสามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในชีวิตประวันได้ค่ะ