being-late-for-work-thai-labor-laws

ลูกจ้างมาทำงานสาย...ผู้ว่าจ้างหักเงินได้หรือไม่ ?!

                ปัญหายอดฮิตที่หลายๆคนสงสัย ไม่ว่าข่าวเกี่ยวกับนายจ้างหักเงินเดือนลูกจ้างที่มาทำงานสายค่อนข้างเยอะมาก บางกรณีนายจ้างเลิกว่าจ้างแถมไม่ให้เงินเดือนอีก! เหตุผลเพราะลูกจ้างมาสายในระยะเวลาติดต่อกัน หลากหลายประเด็นทำให้สังคมตั้งคำถามว่า ในตามกฎหมายแรงงานผู้ว่าจ้างสามารถหักเงินลูกจ้างได้หรือไม่กันแน่ วันนี้ไอเดียบอยจะมาไขข้อสงสัยให้เพื่อนๆเข้าใจง่ายเป็นข้อๆกันไปเลยค่ะ laughing

  1. นายจ้างไม่สามารถหักเงินค่าจ้าง จากเหตุผลมาสายไม่ได้ เพราะผิดกฎหมายแรงงาน !

                พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 76 ได้ระบุว่า “ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด” หากลูกจ้างมาสายบ่อยๆ ทางไอเดียบอยแนะนำให้ทำตามขั้นตอนดังนี้

  • การตักเตือนด้วยวาจา
  • การตักเตือนด้วยลายลักษณ์อักษร
  • ยกเลิกการว่าจ้าง โดยทางนายจ้างไม่ต้องเสียเงินค่าชดเชย

                แต่มีข้อยกเว้นสำหรับในกรณีที่ลูกจ้างมาสายบ่อย นายจ้างสามารถจ่ายค่าจ้างตามระยะเวลาที่ลูกจ้างทำงานจริงได้ แต่ไม่ควรหักเงินลูกจ้างค่ะ

  1. มาสายขนาดนี้ ทำโอทีให้เลยละกัน...

                พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 24 ระบุไว้ชัดเจนว่า “ห้ามมิให้นายจ้างบังคับให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงานเว้นแต่ได้รับความสมัครใจจากลูกจ้างก่อนดังนั้นโดยปกตินายจ้างจะไม่มีสิทธิ์บังคับให้ลูกจ้างทำโอทีโดยไม่แจ้งลูกจ้างก่อน และการที่ทำโอทีนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างเพิ่ม หรือ ค่าล่วงเวลาตามที่กฏหมายแรงงานกำหนด เพราะฉะนั้นถ้าลูกจ้างมาสาย อย่าบังคับให้ทำโอที ไอเดียบอยแนะนำว่าให้เรียกมาตักเตือนตามขั้นตอนดีกว่านะคะ

                แต่ในพรบ.ดังกล่าว ได้มีระบุเพิ่มเติมว่า “ในกรณีที่ลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไปถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน หรือเป็นงานฉุกเฉิน หรือเป็นงานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง นายจ้างอาจให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้เท่าที่จำเป็น” จากข้อกฎหมายดังกล่าว จะตีความง่ายๆ คือ หากมีงานด่วนที่ต้องทำให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด ไม่เช่นนั้นจะเกิดความเสียหายกับบริษัทฯ นายจ้างมีสิทธิ์ที่จะขอให้ลูกจ้างทำโอทีได้ค่ะ (ซึ่งวิธีคิดค่าโอที รอติดตามบทความต่อไปได้เลยค่ะ)

  1. มาสายบ่อยแบบนี้ ทำโทษซักหน่อย...

                หากในกรณีที่ลูกจ้างกระทำความผิดข้อบังคับหรือกฎระเบียบต่างๆของบริษัทฯ ทางไอเดียบอยขอแนะนำให้ปฎิบัติตามนี้ เพราะจะไม่ขัดต่อกฎหมายแรงงานค่ะ

  • ฝ่าฝืนครั้งที่ 1 เรียกกล่าวตักเตือนด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษร
  • ฝ่าฝืนครั้งที่ 2 (ภายใน 12 เดือนนับจากครั้งที่ 1) ตักเตือนด้วยลายลักษณ์อักษร
  • ฝ่าฝืนครั้ง 3 (ภายใน 12 เดือนนับจากครั้งที่ 1) ยกเลิกการว่าจ้าง โดยไม่จ่ายเงินค่าชดเชย

                ยกตัวอย่างเช่น

                นาย A มาทำงานสายตลอดระยะ 1 เดือน นายจ้างควรเรียกเข้าพบเพื่อตักเตือนด้วยวาจาก่อน และภายในระยะเวลา 12 เดือนหลังจากตักเตือนไป ยังมีความประพฤติเหมือนเดิม สามารถออกหนังสือแจ้งเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร จากนั้นอีก 12 เดือนนับจากการตักเตือนเวลา หากยังไม่แก้ไข ทางนายจ้างสามารถยกเลิกการว่าจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยได้ค่ะ
                ** แต่ในกรณีดังกล่าว ต้องเป็นความผิดที่เป็นเรื่องเดียวกันเท่านั้น เช่น ถ้าหากความผิดครั้งที่ 1 มาสาย แต่ความผิดครั้งที่ 2 เล่นมือถือในเวลาทำงาน จะถือว่าเป็นคนละความผิดกันนะคะ

หากผู้ว่าจ้างทำตามข้อปฎิบัติที่ทางเราแนะนำ รับประกันว่าจะไม่มีปัญหาเรื่องกฏหมายแรงงานแน่นอนเลยค่า
ก่อนเรื่องจะบานปลาย ไอเดียบอยแนะนำลองหันหน้ามาพูดคุยหาทางออกพร้อมกันดีกว่านะคะ smile

                หากนายจ้างกำลังมองหาลูกจ้างใหม่ๆ แต่ยังไม่รู้จะหาที่ไหน สามารถติดต่อสอบถามบริษัท จัดหางาน ไอเดียบอย จำกัด Recruitment consultant ที่สามารถให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการสรรหาพนักงาน โดยทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดหาพนักงานมากประสบการณ์ได้เลยนะคะ ติดต่อ 02-661-7615 หรืออีเมลมาที่ info@ideaboy.co.th