ตามความหมายโดยตรงแล้ว Part-Timer นั้น คือ คนที่ไม่ได้ทำงานประจำ แต่ทำงานพาร์ทไทม์ มีระยะเวลาการจ้างงานสั้นๆ หรือในประเทศไทยชอบเรียกกันว่า Freelance นั่นเอง ที่ญี่ปุ่นจะใช้ชื่อเรียกว่า Freeter ซึ่งมาจากการผสมคำว่า Freelance + Arbeiter (ภาษาเยอรมัน) ในญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะหมายถึงบุคคลที่อายุไม่เกิน 35 ปี และไม่ใช่นักเรียน ซึ่งจะต่างจากคนที่ไม่ทำงาน หรือไม่มีงานทำ
การถือกำเนิดขึ้นในญี่ปุ่นของ Freelance นั้น ในยุคเศรษฐกิจฟองสบู่ (ประมาณปี 1985) ซึ่งเศรษฐกิจเติบโตเป็นอย่างรวดเร็ว ทำให้มีการขยายการลงทุนหลายๆด้าน โดยเฉพาะ ร้านสะดวกซื้อ ร้านเฟรนไชน์ การก่อสร้างต่างๆ มีผลให้ต้องใช้แรงงานเพิ่มเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องใช้แรงงานที่เป็น Freelance อย่างมหาศาล มีการประกาศรับสมัครงานผ่านช่องทางต่างๆ ซึ่งในสมัยนั้นนิยมดูจากนิตยสาร หรือหนังสือพิมพ์ เมื่อมีความต้องการสูงทำให้ค่าจ้างสูงขึ้นตามไปด้วย ดึงดูดให้แรงงานหนุ่มสาวสนใจทำงาน Freelance กันเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีค่าตอบแทนที่มากพอสำหรับการดำรงชีวิตได้ตามปรกติโดยไม่จำเป็นต้องทำงานประจำเลยทีเดียว จึงมีคนยึดอาชีพ Freelance กันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมีธุรกิจตัวแทนจัดหางานด้าน Freelance โดยเฉพาะเกิดขึ้นเป็นเงาตามตัว
เมื่อเข้าสู่เหตุการณ์ฟองสบู่แตก (ประมาณปี 1991) การจ้างงาน Freelance ลดลงเป็นอย่างมาก เนื่องจากธุรกิจได้รับผลกระทบสูง ดังนั้นค่าจ้างสำหรับ Freelance จึงตกลงกว่าเดิมมาก ทั้งนี้ยังส่งผลกระทบต่อการจ้างงานพนักงานประจำ มีการปลดพนักงานออกเป็นจำนวนมาก ทำให้การจ้างงานพนักงานใหม่ยิ่งยากขึ้นไปอีก จำนวนตำแหน่งงานประจำเมื่อลองนับดูแล้ว มีตัวเลขยังไม่ถึงครึ่งกับผู้ที่จบการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งส่งผลกระทบให้คนจบใหม่ จำเป็นต้องมาทำงาน Freelance แทนเพราะหางานประจำไม่ได้ เป็นผลให้มีจำนวน Freelance เพิ่มขึ้นไปอีก ว่ากันว่าเพิ่มมากขึ้นกว่าในยุคฟองสบู่เสียอีก เป็นมาเรื่อยๆจนถึงปี 2010 และเริ่มดีขึ้นในปัจจุบัน
สำหรับในประเทศไทย Freelance ยังไม่ชัดเจนว่าเกิดขึ้นโดยสาเหตุหลักจากอะไร จากการวิเคราะห์ของ IDEABOY นั้น คาดว่าเกิดจากไลฟ์สไตล์ของคน Gen Y และ Gen Z ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ ที่ต้องการทำงานตามที่ตัวเองต้องการ สามารถเลือกทำงานในเวลาที่ต้องการได้ ซึ่งส่วนใหญ่งาน Freelance นั้น จะแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มที่มีค่าจ้างสูง กลุ่มนี้จำเป็นต้องใช้ความสามารถและความรู้เฉพาะทาง เช่น ความรู้ด้านภาษาต่างประเทศ (ล่าม Freelance, นักแปล Freelance) ความรู้ด้านศิลปะและการออกแบบ (Graphic Designer Freelance) ความรู้ด้าน IT และวิศวกรรม (Programmer Freelance, Engineer Freelance) ความสามารถด้านการแสดง, ดนตรีและบริการ (ดารา, นักแสดง, นักร้อง, นักดนตรี, Pretty Freelance) เป็นต้น และอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้ต้องการความสามารถพิเศษอะไร เช่น พนักงานร้านสะดวกซื้อ พนักงานขายของ PC พนักงานเชียร์ของ เป็นต้น ซึ่ง Freelance อย่างหลังได้ค่าแรงถูก ประมาณค่าแรงขึ้นต่ำ หรือสูงกว่านิดหน่อย เมื่อเทียบกับรายได้กับงานแบบเดียวกันของญี่ปุ่นแล้ว ยังมีความยากที่จะยึดอาชีพ Freelance เป็นงานประจำเพื่อใช้ในการดำรงชีวิตตามปรกติได้ แต่ในปัจจุบันประเทศไทยก็มีการลงทุนมากขึ้น ทำให้มีความต้องการใช้งาน Freelance ในงานต่างๆเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ค่าจ้างก็มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ เป็นสัญญาณที่ดีในอนาคตสำหรับ Freelance
IDEABOY Recruitment มีบริการจัดหาพนักงาน Freelance หรือ พนักงาน Outsource สำหรับบริษัทหรือองค์กรที่ต้องการใช้แรงงานในระยะสั้น ผู้ที่สนใจงาน Freelance หรือ ต้องการให้สรรหาพนักงาน Freelance สามารถติดต่อเข้ามาเพื่อสอบถามบริการได้จากที่อยู่ติดต่อข้างล่างนี้ครับ